หน้าหลัก
วิธีการเล่น
กลยุทธ์เบื้องต้น
เทคนิคการเล่น
เกมที่น่าสนใจ
บันทึกหมาก
เว็บบอร์ดเก่า
การเปิดหมาก
กระดานโอเทลโล่
แกลลอรี่
โอเทลโล่ลิงก์
โปรโมตเว็บไซต์

สั่งซื้อกระดานโอเทลโล่
Michele Borassi พบกับ Tamaki Miyaoka : W.O.C. 2008 (Finalgame03) พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ธรรมธร ไกรก่อกิจ (Zen)   

 :Michele Borassi
 :Tamaki Miyaoka
ผลคะแนน : ดำชนะ 34-30
การแข่งขัน :

W.O.C. 2008

รอบ :รอบรองชนะเลิศ กระดานที่ 3
ลำดับหมาก :
f5f6e6f4g6d6e3f3g4d3g3e7f2h6c6c5e2c7f7g5
h5d2h7e1c1d1f1g2e8h4c4c3g7d7d8c8c2f8b3a3
b4b5b6a5h1g1h2h3a7h8g8b2a6a8a4b7b8b1a1a2

เกมรอบชิงแชมป์กระดานสุดท้ายระหว่าง Michele Borassi แชมป์อิตาลี (หลังจากชนะเกมนี้จึงได้แชมป์โลกปี 2551) พบกับ Tamaki Miyaoka เมย์จินญี่ปุ่นปี 2551 เกมนี้มีหลายจุดที่น่าสนใจ ดังนี้

ตาเดินที่ 18 หมากขาวทำไมถึงไม่เดิน C7 แทนที่จะเดินที่ G5 ซึ่งดูปกติกว่า

ตาเดินที่ 22 หลังจากหมากดำเดินตาที่ 21. H5 หมากขาวก็ไม่ยอมเดิน H4 แสดงให้เห็นถึงสไตล์การเล่นของ Tamaki ที่เน้นปลอดภัยมากกว่าเล่นขอบ

ตาเดินที่ 27 Michele Borassi เดินที่ F1 ยอมให้ทำสโตนเนอร์??

ตาเดินที่ 32 หลังจากทำสโตนเนอร์ได้แล้วTamaki กลับไม่ยอมรีบเข้ามุม ตาที่ 32กลับเดินที่ C3!!! ซึ่งเปิดโอกาสให้Borassiกลับมาได้เปรียบ (ตำแหน่ง C3 ของหมากขาวนั้นตั้งใจจะกันไม่ให้หมากดำเดินที่ C3 เท่านั้นเอง เมื่อวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม WZebra ที่ระดับ 16 moves พบว่า C3 นั้นมีคะแนนอยู่ที่ -6)

ตาเดินที่ 45 หมากดำเข้ามุมซึ่งดูแล้วใช้ได้ แต่หากลองวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมพบว่าตำแหน่ง H1 นั้นหมากดำแพ้ (หากทั้งคู่เดินได้ถูกต้องหมากขาวจะชนะ 30-34) จากตรงนี้เลยเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้หมากขาวอีกครั้ง

ตาเดินที่ 52 ตาเดินนี้นั้นหมากขาวสามารถเอาชนะได้โดยการเดินที่ A6 แต่ค่อนข้างดูยากมากเพราะหากหมากขาวเดินA6 หมากดำสามารถเดินB7 เพื่อให้มุมA8 และแทรก B8 และ A4 ได้ Tamaki เลยตัดสินใจเดินที่ B2 แทนและพ่ายแพ้ไป


 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
 
Copyright © 2006-2015 www.ThaiOthello.com (Thailand), All Rights Reserved