หน้าหลัก
วิธีการเล่น
กลยุทธ์เบื้องต้น
เทคนิคการเล่น
เกมที่น่าสนใจ
บันทึกหมาก
เว็บบอร์ดเก่า
การเปิดหมาก
กระดานโอเทลโล่
แกลลอรี่
โอเทลโล่ลิงก์
โปรโมตเว็บไซต์

สั่งซื้อกระดานโอเทลโล่
กลยุทธ์เบื้องต้น พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ธรรมธร ไกรก่อกิจ (Zen)   

5. กลยุทธ์ช่วงกลางเกม (Midgame Strategy)

ช่วงกลางเกมก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกันในการเล่นโอเทลโล่ เพราะส่งผลต่อท้ายเกม กลยุทธ์ในช่วงนี้นั้นมีมากมาย ทั้งเทคนิค ทั้งการเดิน อีกทั้งกับดักต่างๆ ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับกลยุทธ์ในช่วงนี้ผู้อ่านต้องทำความรู้จักกับคำศัพท์เหล่านี้ก่อน

5.1 คำศัพท์ที่สำคัญช่วงกลางเกม

 

White's Turn

รูปที่ 5.1 ตาหมากขาวเดิน

Black's Frontiers

รูปที่ 5.2 Frontier ของหมากดำ

White's Frontiers

รูปที่ 5.3 Frontier ของหมากขาว

Frontier คือ หมากที่วางอยู่ติดกับช่องว่างโดยที่ไม่รวมตัวขอบ จากรูปที่ 5.1 เราจะสังเกตได้ว่าหมากดำแทบจะไม่เหลือที่ให้เล่นเลยเพราะมี Frontier ค่อนข้างมากถึง 15 ตัว(ดังแสดงในรูปที่ 5.2) เมื่อเปรียบเทียบกับFrontierของหมากขาวที่มีแค่ 1 ตัวเท่านั้น (รูปที่ 5.3)การสร้าง Frontierเยอะๆนั้นก็เปรียบเสมือนการปิดกั้นหมากของตนเองไม่ให้สามารถเดินได้

กำแพง(Wall) ก็คือ Frontierชนิดหนึ่งเช่นกัน แต่มักจะหมายถึงFrontierที่เป็นแนวยาวๆกั้นไว้นอกสุด โดยในที่นี้หมากขาวไม่จำเป็นต้องเปิดออกไปเล่นด้านนอกก็ได้ ดังรูปที่ 5.4 ส่วนที่ได้ทำเครื่องหมายไว้เรียกว่ากำแพง

Wall

รูปที่ 5.4 กำแพง

Internal Disc เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ Frontier นั้นคือหมากที่ไม่ติดกับช่องว่างเลยไม่รวมขอบเช่นกัน ดังที่ได้ทำเครื่องหมายไว้ในรูปที่ 5.5 แสดงInternal Discของหมากขาว

Internal Discs

รูปที่ 5.5 Internal Disc

Quiet Move

รูปที่ 5.6 Quiet Move

Quiet Move คือ ตาเดินที่เกิดFrontier ไม่พลิกคู่ต่อสู้มากนัก และส่วนใหญ่มักจะดี ดังรูปที่ 5.6 หมากขาวเดินที่B6 ซึ่งถือเป็นQuiet Move เพราะหมากขาวเกิดFrontierเพิ่มขึ้นแค่ตัวเดียวคือ B6 หลังจากนี้หมากดำจะเหลือตาเดินแค่ 3 ที่ คือ B2, A7, B7 (แพ้ทั้งหมด)

Perfect Quiet Move

รูปที่ 5.7 Perfect Quiet Move

Perfect Quiet Move ก็เป็นQuiet Moveเช่นกันแต่จะเป็นตาเดินที่ไม่เกิด Frontierเลย ดังรูป 5.7 หากหมากขาวเดินที่F1 แทนที่จะลงB6 หมากดำจะเหลือที่เล่นเพียงที่เดียว คือ B2 หมากขาวที่F1จึงเรียกว่าPerfect Quiet Move เพราะไม่เกิด Frontier เพิ่มขึ้น (สังเกตคอลัมน์Fเป็นหมากดำทั้งหมด F2-F7 หมากขาวเดินที่F1 F2-F7จึงไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร)

Perfect Quiet Move

รูปที่ 5.8 ขาวเดินที่ G1

ต่อเนื่องจากรูปที่ 5.7 หลังจากหมากขาวเดินที่ F1 หากหมากดำเดินที่B2 แล้วหมากขาวเดินต่อที่G1 ซึ่งก็ถือเป็นQuiet Move เช่นกันเพราะสร้างFrontierเพิ่มขึ้นเพียง 1 ตำแหน่งคือ F2 และหมากดำก็ไม่มีตาเล่นให้เลือกหลังจากนี้ นอกจาก X Square G2

การที่หมากขาวเดินต่อเนื่องQuiet Move F1 และ G1 ได้เนื่องจากหมากดำได้สร้างตาเดินฟรี (Free Move) หรือ ตาเดินที่เสียเทมโป (Tempo) ดังตำแหน่งที่ได้ทำเครื่องหมายไว้ในรูปที่ 5.9

Black Allow Free Moves

รูปที่ 5.9 แสดงตำแหน่งของหมากดำที่ทำให้เกิดตาเดินฟรี

หลังจากรู้จักQuiet Move ไปแล้ว มาลองดูLoud Move กันบ้าง Loud Move ตรงกันข้ามกับ Quiet Move นั่นคือ ตาเดินที่สร้าง Frontier มาก และพลิกหมากคู่ต่อสู้เยอะนั่นเอง (ส่วนใหญ่จะไม่ดี) รูปที่ 5.10-5.11

Example of Loud Move 01

รูปที่ 5.10 ตาหมากดำเดิน

Example of Loud Move 02

รูปที่ 5.11 หมากดำเดินB4


Tempo คือ จังหวะการเดินบริเวณขอบ

Example of Tempo 01

รูปที่ 5.12 ตาหมากขาวเดิน

จากรูปที่ 5.12 หมากขาวจำเป็นต้องเดินบริเวณขอบ เพราะหากเดินตาเดินอื่นๆกลางกระดาน B3, B4 ,B5 ,B6 มีแต่จะสร้างFrontier เพิ่มให้กับตนเอง หากหมากขาวเดินที่ขอบในตานี้ ตาต่อไป หมากดำจะต้องเป็นฝ่ายเปิดเกมไปเล่นที่อื่นๆแทนเพราะขอบล่างหมากดำไม่สามารถเดินได้แล้วในตอนนี้ แต่ปัญหาคือ หมากขาวควรเดินตรงไหนระหว่าง C8 หรือD8? (B8ตัดออกเพราะหากหมากขาวเดินB8 หมากดำC8หมากขาวจะเสียมุมA8)

Example of Tempo 02

รูปที่ 5.13 กรณีที่หมากขาวเดินD8

หากหมากขาวเดิน D8 หมากดำก็จะโต้ตอบที่ C8 ทันที ดังรูปที่ 5.13 หมากขาวก็ยังคงต้องเป็นฝ่ายเปิดเกมอยู่ดี

Example of Tempo 03

รูปที่ 5.14 กรณีที่หมากขาวเดินC8

Example of Tempo 04

รูปที่ 5.15 แสดงตำแหน่งของหมากดำที่ทำให้เกิดตาเดินฟรี

ในอีกกรณีที่หมากขาวเดินที่ C8 (รูปที่ 5.14) ต่อไปจะเป็นตาหมากดำเดิน หมากดำจำเป็นต้องออกไปเล่นที่อื่นแทน เพราะหากลง D8 ก็จะเสียมุม H8 อีกทั้งหมากขาวยังมีตาเล่นฟรีที่ B8 อันเนื่องจากหมากดำในตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ (รูปที่ 5.15) ตาเดินฟรีนี้หมากขาวอาจจะใช้เดินในตาต่อไป หรือ จะเก็บไว้เดินยามคับขันก็ยังได้

การที่หมากขาว หรือ หมากดำเดินตัวสุดท้ายในขอบแล้วอีกฝ่ายต้องเปิดเกมไปเล่นในตำแหน่งอื่นๆ แบบนี้เราจะเรียกฝ่ายที่ได้ลงตาสุดท้ายในขอบนั้นๆว่า ได้Tempo ส่วนฝ่ายที่ต้องเปิดเกมออกไปเล่นที่อื่นนั้นเรียกว่า เสียTempo

Example of Tempo 05

รูปที่ 5.16 ตาหมากขาวเดิน

จากรูปที่ 5.16 ดูจากสถานการณ์แล้วหมากขาวจำเป็นต้องเดินบริเวณขอบล่าง เพราะหากเปิดเกมขึ้นไปด้านบนยิ่งทำให้เสียเปรียบมากขึ้นไปอีก ปัญหาคือหมากขาวควรเดินตรงไหนระหว่าง C7 หรือ C8

Example of Tempo 06

รูปที่ 5.17 กรณีหมากขาวเดินที่C7

 

กรณีแรก หากหมากขาวตัดสินใจเดินที่C7 ทำให้คอลัมน์Cเป็นขาวทั้งหมด หมากดำจะเกิดQuiet moveทันที C8 และB8 หมากขาวที่ได้ทำสัญลักษณ์ไว้นั้นเป็นตาเดินฟรี ที่หมากดำจะเดินC8, B8 เมื่อไหร่ก็ได้ หากหมากดำเดิน C8 ในตาเดินต่อไป หมากขาวจะเหลือตาเดินส่วนล่างกระดานแค่A5เท่านั้น นอกนั้นจะต้องเปิดเกมไปด้านบนทั้งหมด (A5 ดำโต้ตอบที่A2หมากขาวไม่ที่เหลือต้องเล่นด้านบนอยู่ดี)

Example of Tempo 07

รูปที่ 5.18 กรณีหมากขาวเดินที่C8

กรณีที่ 2 หากหมากขาวตัดสินใจเดินที่C8 หมากดำจำเป็นต้องเดินB8 (หากไม่ลงจะเสียมุม H8) หมากขาวจึงเดินตาสุดท้ายที่ส่วนล่างของกระดานที่C7 ทำให้หมากดำต้องเป็นฝ่ายเปิดไปด้านบนของกระดาน หรือเสียTempo ด้านล่างนั่นเอง

ผู้อ่านคงพอเข้าใจหลักการของเกมในช่วงกลางเกมกันบ้างแล้ว นั่นคือ ไม่ควรสร้าง Frontier เยอะๆ ไม่สร้างWall เดินให้ Quiet ไม่ Loud ไม่ควรเสีย Tempo และตาเดินฟรี ต่อไปนี้เราจะมาดูหลักการเดินในช่วงกลางเกมกันบ้างในหน้าต่อไป



 
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
 
Copyright © 2006-2015 www.ThaiOthello.com (Thailand), All Rights Reserved