หน้าหลัก
วิธีการเล่น
กลยุทธ์เบื้องต้น
เทคนิคการเล่น
เกมที่น่าสนใจ
บันทึกหมาก
เว็บบอร์ดเก่า
การเปิดหมาก
กระดานโอเทลโล่
แกลลอรี่
โอเทลโล่ลิงก์
โปรโมตเว็บไซต์

สั่งซื้อกระดานโอเทลโล่
กลยุทธ์เบื้องต้น พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ธรรมธร ไกรก่อกิจ (Zen)   

2. ทำความเข้าใจกับเกมเสียใหม่

ผู้เล่นมือใหม่หลายคนมักจะมีแนวคิดซึ่งค่อนข้างผิดไปจากความเข้าใจกลยุทธ์ในการเล่นโอเทลโล่ที่แท้จริงมาก ซึ่งสามารถแบ่งตามหัวข้อได้ตามนี้

2.1 แนวคิดการพลิกคู่ต่อสู้เยอะไว้ก่อน (Maximum Disc Strategy)  ผู้เล่นมือใหม่อาจจะคิดว่าการพลิกหมากคู่ต่อสู้เยอะๆแต่ต้นนั้นทำให้สามารถเอาชนะได้เพราะวัตถุประสงค์ของเกมนั้นคือ ผู้ที่มีหมากเยอะกว่าในตอนจบเกมจะเป็นผู้ชนะ แท้จริงแล้วตราบใดที่หมากที่เราได้นั้นยังสามารถถูกพลิกได้อยู่ตราบนั้นก็ยังไม่ชนะ ดังตัวอย่างรูปที่ 2.1

White's Turn

รูปที่ 2.1 ตาหมากขาวเดิน

จากรูปพบว่าหมากขาวมีถึง 42 ตัว หมากดำมีเพียง 2 ตัวเท่านั้น และเป็นตาหมากขาวเดิน ซึ่งจะพบว่าหมากขาวมีเพียงตาเดินที่เดียว คือ ตำแหน่ง X Square หรือ G7 เท่านั้น!!!

*หากท่านผู้อ่านมีกระดานโอเทลโล่ หรือ โปรแกรม WZebra (โหลดได้ในส่วนของดาวน์โหลด)ให้ทดลองเซตหมากตามรูปที่ 2.1 หรือ นึกภาพตามเพื่อเสริมความเข้าใจ

หลังจากหมากขาวเดินX Square ที่ G7 หมากดำสามารถเข้ามุมH8 ได้ทันที และให้ทดลองเดินต่อ ดังนี้ G7 H8 G8 F8 E8 D8 C8 B8

Stable Discs

รูปที่ 2.2 ตาหมากขาวเดิน

หลังจากเดินตามลำดับหมากด้านบนแล้ว (ซึ่งจะได้ดังรูปที่ 2.2) จะพบว่าหมากดำเป็นฝ่ายบังคับตาเดินของหมากขาว เนื่องจากหมากขาวไม่มีตาเดินอื่นหากเดินต่อไปหมากดำจะเป็นฝ่ายชนะไปในที่สุด (หากหมากขาวเดินต่อที่B7 หมากดำจะได้A8, ขอบA2-A7, มุม A1, ขอบB1-G1, มุมH1)

สาเหตุที่หมากดำชนะในเกมนี้เนื่องจากหมากดำได้มุม H8 หลังจากเดินไล่พลิกหมากขาวไปตามขอบด้านล่างแล้ว หมากดำที่ถูกทำเครื่องหมายในรูป 2.2 นั้นจะไม่สามารถถูกพลิกคืนเป็นหมากขาวได้อีก ซึ่งเราจะเรียกหมากในลักษณะนี้ว่า หมากเสถียร (Stable Disc)

เพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมลองดูรูปที่ 2.3 หมากดำในรูป 2.3 ทั้งหมดจะเป็นหมากเสถียร เนื่องจากไม่สามารถถูกพลิกกลับเป็นขาวได้อีกแล้ว ส่วนหมากขาวทั้งหมดยังไม่ถือว่าเป็นหมากเสถียรเพราะยังสามารถถูกพลิกกลับได้ทั้งหมด

Stable Discs

รูปที่ 2.3 แสดงหมากเสถียรและหมากที่ไม่เสถียร

2.2 แนวคิดในการเดินขอบและการเว้นช่องให้แทรก ผู้เล่นมือใหม่มักจะคิดว่าเดินขอบนั้นได้เปรียบ มักจะรีบเอาขอบเมื่อมีโอกาส และมักเว้นช่องเพื่อให้คู่ต่อสู้เทรกได้ง่ายๆ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด

White can wedge at A4

รูปที่ 2.4 สมมติให้หมากดำเป็นผู้เล่นมือใหม่ ตาหมากขาวเดิน

หมากดำได้เดินขอบทั้งด้านบน ด้านซ้ายและด้านล่างของกระดาน ในกรณีสมมติหากเป็นตาเดินของหมากดำในตาต่อไปจะพบว่าหมากดำแทบไม่มีที่เล่นที่ดีเลย เนื่องจากเดินตรงไหนก็จะพลิกหมากคู่ต่อสู้เสียเยอะไปซะหมด(ยกเว้นF1ที่พลิกเพียง 1 ตัว) และขอบทั้ง 3 ด้านของหมากดำยังเป็นขอบที่อันตรายมากเนื่องจากประกอบด้วยC Square A2, A7, B1, B8, G8 อีกทั้งหมากดำยังเว้นช่องบริเวณขอบคือ D1, A4, C8 ให้หมากขาวสามารถเดินเข้าไปได้อีก

White wedges at A4

รูปที่ 2.5 หมากขาวเดินที่A4

กรณีที่เป็นตาหมากขาวเดิน หมากขาวสามารถเดินที่ A4 ได้ และสามารถเข้ามุมA1 หรือ A8 ได้ทันทีในตาต่อไป เพราะหมากดำได้เดินขอบที่A2 และA7 (C Square)ไว้แล้ว หลังจากนั้นA1-A8จะกลายเป็นหมากเสถียรของหมากขาว และหมากขาวสามารถไล่พลิกหมากดำบริเวณขอบบน หรือ ขอบล่างต่อไปและชนะไปในที่สุด

การเดินบริเวณ A4 ของหมากขาวในเกมนี้ เราเรียกว่า แทรก (Wedge) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในโอเทลโล่เช่นกัน การจะป้องกันการแทรกนั้นสามารถทำได้โดยการ ไม่เว้นช่องบริเวณขอบ  หรือ หากจำเป็นต้องเว้นช่องไว้ก็ควรจะเว้นเป็นช่องคู่

หากท่านอ่านมาถึงตรงนี้ท่านคงพอเข้าใจกับเกมโอเทลโล่มากขึ้น ในเรื่องของหมากเสถียร การแทรก และตระหนักถึงความอันตรายของการเดินบริเวณX Square, C Square จากตัวอย่างด้านบนบ้างแล้ว ต่อไปเราจะทำความเข้าใจกลยุทธ์ที่ถูกต้องในหน้าต่อไป



 
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
 
Copyright © 2006-2015 www.ThaiOthello.com (Thailand), All Rights Reserved