หน้าหลัก
วิธีการเล่น
กลยุทธ์เบื้องต้น
เทคนิคการเล่น
เกมที่น่าสนใจ
บันทึกหมาก
เว็บบอร์ดเก่า
การเปิดหมาก
กระดานโอเทลโล่
แกลลอรี่
โอเทลโล่ลิงก์
โปรโมตเว็บไซต์

สั่งซื้อกระดานโอเทลโล่
กลยุทธ์เบื้องต้น พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ธรรมธร ไกรก่อกิจ (Zen)   

3.2 แนวทางการเล่นแบบไต่ไปตามขอบ (Creeping along The Edges อาจจะเรียกว่า Edge Grabbing หรือEdge Creeping หรืออื่นๆ แต่มีความหมายเดียวกัน) คือ การเดินบริเวณขอบของกระดานเพื่อบังคับให้คู่ต่อสู้ลง X Square การเดินในแนวทางนี้ถือเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่สามารถใช้ในการเอาชนะในเกมโอเทลโล่ได้เช่นกัน แต่มีข้อที่ควรระวังค่อนข้างมาก ดังนี้

  • ควรระวังUnbalance Edge หรือ ขอบที่ไม่ดี (Weak Edge) ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกแทรก
  • หากไม่สามารถเอาชนะได้ตั้งแต่ต้นแรกๆ ช่วงกลางเกม-ท้ายเกมจะเดินลำบาก
  • หากมีขอบเป็นรูปแบบแซนวิซ (Sandwich) มักเดินลำบาก
  • การเล่นขอบทำให้มีจำนวนหมากมักจะเยอะเสมอทำให้ควบคุมเกมได้ลำบาก

Black Plays Creeping Style

รูปที่ 3.6 ตาหมากขาวเดิน

จากรูป 3.6 หมากดำเดินในแนวทางนี้ คือ ไต่ไปตามขอบบน ซ้ายและล่าง ซึ่งเป็นขอบที่ค่อนข้างดี (Strong Edges) เพราะหมากขาวเหลือตาเดินแค่ 2 ที่ คือ B2 และ B7 หากหมากขาวลงตรงไหน หมากดำก็สามารถเข้ามุมได้ทันที และชนะไป

การเล่นในแนวทางนี้ผู้เล่นควรจะทำความรู้จักกับขอบแบบต่างๆ ซึ่งการพิจารณาว่าขอบไหนดีหรือไม่ดี (Strong Edge or Weak Edge) นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยทั่วไปเราอาจจะพิจารณาแถว หรือ คอลัมน์ที่อยู่บนขอบด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป

White's Turn

รูปที่ 3.7 ตาหมากขาวเดิน

จากรูปที่ 3.7 ขอบทางซ้ายประกอบด้วยหมากดำ 1 ตัว (A3) หมากขาว 2 ตัว(A5, A6) ขอบด้านล่างประกอบด้วยหมากขาว 3 ตัว (B8, C8, D8) หมากดำ 1 ตัว (F8) คอลัมน์บนขอบทางซ้าย ประกอบด้วย หมากดำทั้ง4 ตัว คือ B3, B4, B5, B6 แถวบนขอบด้านล่าง ประกอบด้วย หมากดำ 4 ตัวเช่นกัน ได้แก่ C7, D7, E7, F7

คอลัมน์และแถวบนขอบทางซ้าย และด้านล่างนั้นประกอบด้วยหมากดำทั้งหมด ทำให้หมากดำไม่สามารถเดินที่ A4 และ E8 ได้เลย กรณีนี้หากพิจารณาขอบของหมากดำทั้งซ้ายและล่างจะถือว่าไม่ดี (Weak Edge) หากลองพิจารณาขอบซ้ายและขอบล่างของหมากขาวบ้าง แม้ว่าขอบล่างของหมากขาวจะประกอบด้วยC Square 8 ก็ตาม แต่ก็ไม่ถือเป็นขอบที่ไม่ดี เพราะหมากขาวสามารถเดินที่A4, A7 หรือ E8 เมื่อไหร่ก็ได้

The Edges

รูปที่ 3.8 ขอบ 4 ประเภท

Balance Edge

รูปที่ 3.8.1 ขอบสมดุล

จากรูปที่ 3.8 ขอบที่ได้ทำไฮไลท์สีแดงไว้เราจะเรียกว่า ขอบสมดุล (Balance Edge) ขอบแบบนี้จะประกอบด้วยหมากสีใดก็ได้ 6 ตัว (รูปที่ 3.8 คือ A2-A7) แถวหรือคอลัมน์บนขอบนั้น(รูปที่ 3.8 คือB3-B6) จะประกอบด้วยหมากขาว หรือ หมากดำ หรือ ช่องว่างก็ได้

Unbalance Edge

รูปที่ 3.8.2 ขอบไม่สมดุล

จากรูปที่ 3.8 ขอบที่ได้ทำไฮไลท์สีเหลืองไว้เราจะเรียกว่า ขอบไม่สมดุล (Unbalance Edge) ขอบแบบนี้จะประกอบด้วยหมากสีใดก็ได้ 5 ตัว (รูปที่ 3.8 คือ C1-G1) แถวหรือคอลัมน์บนขอบนั้น(รูปที่ 3.8 คือC2-F2)  จะประกอบด้วยหมากขาว หรือ หมากดำ หรือ ช่องว่างก็ได้

Perfect Edge

รูปที่ 3.8.3 ขอบสมดุลแบบตัน

จากรูปที่ 3.8 ขอบที่ได้ทำไฮไลท์สีม่วงไว้ก็ประกอบด้วยขอบ 6 ตัว จึงเรียกว่า ขอบสมดุล เช่นกัน แต่แตกต่างกันตรงที่หมากที่อยู่บนขอบนั้นเป็นสีเดียวกันทั้งหมดและเป็นสีเดียวกับขอบ (จากรูปเป็นหมากดำทั้งหมดประกอบด้วยขอบ 6 ตัวและ 4 ตัวบนก็ดำเช่นกัน) ขอบเช่นนี้อาจจะเรียกว่า ขอบสมดุลแบบตัน (Solid Balance Edge) ในบางครั้งอาจจะเรียกขอบประเภทนี้ว่า ขอบที่สมบูรณ์แบบ (Perfect Edge) ก็ได้

Solid Unbalance Edge

รูปที่ 3.8.4 ขอบไม่สมดุลแบบตัน

จากรูปที่ 3.8 ขอบที่ได้ทำไฮไลท์สีส้มไว้ก็ประกอบด้วยขอบ 5 ตัว จึงเรียกว่า ขอบไม่สมดุลเช่นกัน แต่แตกต่างกันตรงที่หมากที่อยู่บนขอบนั้นเป็นสีเดียวกันทั้งหมดและเป็นสีเดียวกับขอบ จึงเรียกว่า ขอบไม่สมดุลแบบตัน (Solid Unbalance Edge)

ขอบในรูปแบบอื่นๆ นอกจากนี้นั้นไม่มีชื่อเรียก ส่วนมากมักจะเป็นขอบที่ไม่ดี (Weak Edge) ดังรูปที่ 3.9

Weak Edges

รูปที่ 3.9 ขอบที่ไม่ดี

ขอบด้านซ้าย ด้านบน และด้านล่างของหมากดำ ถือว่าเป็นขอบที่ไม่ดีทั้งหมด

  • ขอบทางซ้าย หมากดำไม่สามารถเดิน A5-A7 ได้เลย หากหมากขาวเดินที่A6 หมากดำจะมีทางเลือกเดียวเท่านั้นคือ A5 และเสียมุมไป
  • ขอบด้านล่างหมากดำไม่สามารถเดินB8 และ C8 ได้เช่นกัน หากหมากขาวเดินที่ A8 หมากดำมีทางเลือกแค่ 2 ทาง คือ B7 หรือ C8 และแพ้ไป
  • ขอบด้านบนกของหมากดำก็ไม่ดีเช่นกัน แม้จะไม่มีC Squareก็ตาม หากหมากขาวเดินที่C1 หมากดำมีทางเลือกเดียว คือ D1 หมากขาวจะตอบสนองที่G1 ทันที และหมากดำก็จะไม่เหลือทางเลือกจำเป็นต้องลงG2 เสียมุมH1 ทำให้แพ้ไปในที่สุด

รูปแบบขอบไม่สมดุลนั้นก็อันตรายเช่นกัน เพราะเสี่ยงต่อการถูกแทรก ดังนี้

The Weakness of Unbalance Edge

รูปที่ 3.10 ตาหมากดำเดิน

จากรูปที่ 3.10 หมากขาวพยายามจะเล่นไต่ขอบเพื่อบังคับให้ดำลง X Square แต่ขอบบนของหมากขาวนั้นเป็นขอบไม่สมดุล หากหมากดำลงB2...

Unbalance Edge can be Wedged

รูปที่ 3.11 หลังจากเดิน B2 A1 B1

รูปที่ 3.11 หมากขาวสามารถเข้ามุมA1 ได้ในตาต่อไป แต่หมากดำก็จะสามารถแทรกที่B1ได้เช่นกัน หลังจากนั้นหมากดำสามารถเข้ามุม H1ได้ และเป็นฝ่ายชนะไป

การเล่นขอบนั้นมีอันตรายมากมายที่ผู้เล่นควรระวัง รูปแบบในรูป 3.12 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

Sandwish Edges

รูปที่ 3.12 ตาหมากดำเดิน

รูปแบบในรูปที่ 3.12 เราจะเรียกว่าแซนวิช คือ เรามีขอบสองข้างที่ตรงข้ามกัน โดยมีตัวหมากคู่ต่อสู้อยู่ตรงกลางกระดาน จะพบว่าหมากดำเดินได้ลำบากมากๆ ไม่ว่าเดินที่ไหนก็จะพลิกหมากขาวเยอะทุกที่ ไม่สามารถควบคุมเกมได้ และเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

จากตัวอย่างด้านบนจะพบว่าการเล่นไต่ขอบนั้นมีอันตรายเยอะมากก็จริงอยู่ แต่หากท่านได้ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้วก็สามารถนำมาใช้ในการเอาชนะได้เช่นกัน ผู้เล่นที่เชี่ยวชาญการเล่นในแนวทางนี้มักจะถูกเรียกว่า 'Creeper' หรือ นักไต่นั่นเอง

เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นให้ผู้อ่านลองดูตัวอย่างเกมในรูปแบบ html ด้านล่าง

หมากขาวเล่นในแบบไต่ไปตามขอบ

ลำดับหมาก

e6f6f5f4g5d6f7g4f3h5h6h7c5g6d7e3g3f2e7h2 h3h4c3f8d3e8f1e2d2d1e1g1g2c1c2b1c4h1g7d8 c7h8b2g8c8b8b7a7b6c6b5a6a5a2a1a3a4b3a8

 

อย่างไรก็ตามการเล่นโอเทลโล่นั้น เราจะเลือกใช้แนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อเอาชนะในทุกๆเกมนั้นเป็นไปไม่ได้ ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ ฝีมือคู่ต่อสู้ และรูปแบบหมากที่จะกล่าวถึงในหน้าต่อไป



 
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
Sosuco and Group 2008
 
Copyright © 2006-2015 www.ThaiOthello.com (Thailand), All Rights Reserved